อัสสาลามูอาลัยกุม

"ยินดีต้อนรับสู่ฝ่ายทะเบียนโรงเรียนนูรุดดิน(มูลนิธิ)

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

สรุปการรับสมัครนักเรียนใหม่ปีการศึกษา 2554

     โรงเรียนนูรุดดิน(มูลนิธิ)ได้เปิดรับสมัครนักเรียนใหม่ปีการศึกษา 2554 ในวันที่ 27-29 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา มีจำนวนนักเรียนดังนี้

     1- ชั้นมัธยมปีที่ 1    ชาย   87 คน     หญิง  106 คน     รวม  193 คน

     2- ชั้นมัธยมปีที่ 4    ชาย       คน     หญิง        คน     รวม        คน

ความหมายของ ปพ. ต่างๆ

ง่ายๆกับความเข้าใจเรื่อง ปพ. ต่างๆ

ปพ.1 คือ ระเบียนแสดงผลการเรียน ใช้แจกให้นักเรียนเมื่อนักเรียนเรียนจบแต่ละช่วงชั้น หรือเมื่อนักเรียนย้ายโรงเรียน
ปพ.คือ ประกาศนียบัตร    แจกให้เมื่อนักเรียนจบช่วงชั้นเท่านั้น
ปพ.3 คือ แบบ รายงานผู้สำเร็จการศึกษา  ให้โรงเรียนส่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแล้วเขต ส่งไปเก็บไว้ที่กระทรวงฯ
ปพ.4 คือ แบบรายงาน ผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์   ออกให้เมื่อนักเรียนจบหลักสูตรแต่ละช่วงชั้น
ปพ.5 คือ ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน   หรือ เอกสารที่ครูทุกคนต้องทำในทุกรายวิชาที่สอน ทุกห้อง ส่งเทอมละ 1 ครั้งเมื่อส่งเกรดนักเรียนที่ฝ่ายวิชาการ  หากเป็นครูประถมฯ ส่งทุกสิ้นปีการศึกษา 
ปพ.6 คือ ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคล   ครูประจำ ชั้นจะต้องออกให้นักเรียนในที่ปรึกษาของตนเองเทอมละ 1 ครั้งหรือปีละ 1 ครั้ง แต่ปัจจุบันหากโรงเรียนใดใช้ โปรแกรม student2544  Version 2 Beta 4 เจ้าหน้าที่ GPA จะ print ให้ ครูประจำชั้นแค่ลงลายเซ็น แล้วเสนอให้ ผอ.ลงนาม และให้นักเรียน นำไปให้ผู้ปกครอง รับทราบผลการเรียน  เรียกง่ายๆว่า สมุดแจ้งเกรด  ก็ได้
ปพ.7 คือ ใบรับรองผลการศึกษา  โรงเรียนจะออกให้เมื่อนักเรียนมีความต้องการใช้ เวลาใดๆก็ได้ หมายถึงเมื่อนักเรียนต้องการรับรองว่าตนเองเป็นนักเรียนโรงเรียนนั้นจริงๆ  หรือ ใช้เป็นหลักฐานในการศึกษาต่อก่อนได้ปพ.1จริงๆ ซึ่งปพ.1จะออกเมื่อ31 มีนาคม แต่ละปี
ปพ.8 คือ เอกสารระเบียนสะสม หมายถึง เอกสารที่มีข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับการเรียน สุขภาพ ของนักเรียนทั้งหมด หากรอกข้อมูลครบในโปรแกรมแล้ว จะprint ได้เลย หรือซื้อจากร้านก็ได้  ใช้เมื่อนักเรียนย้าย หรือเมื่อจบปีการศึกษาเพื่อให้ผู้ปกครองทราบเกี่ยวกับตัวนักเรียนทั้งหมด
ปพ.9 คือ สมุดบันทึกผลการเรียนรู้ หมายถึง สมุดที่ใช้ประกอบการย้ายโรงเรียน เพื่อแสดงถึงความก้าวหน้าของการเรียนว่านักเรียนคนนี้เรียนแต่ละวิชาไปแล้ว กี่จุดประสงค์ กี่หน่วยการเรียน ใช้เมื่อนักเรียนย้ายโรงเรียน

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับฝ่ายทะเบียน

      ฝ่ายทะเบียนเปรียบเสมือนหัวใจสำคัญของโรงเรียน เป็นศูนย์รวมในการจัดเก็บเอกสารข้อมูลต่างๆ อันเกี่ยวข้องกับนักศึกษาอย่างมีระบบ ซึ่งเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับการจัดการบริการในด้านต่างๆ ทั้งต่อผู้ปกครอง ครูอาจารย์และนักศึกษา ในการที่จะประสานงานร่วมกันตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาดำรงสภาพการเป็นนักศึกษา ของโรงเรียน งานส่วนใหญ่จะเน้นในด้านการให้บริการ เช่น การทำบัตรประจำตัวนักศึกษา การจัดทำประวัติ ข้อมูลนักศึกษา ฯลฯ ตลอดจนให้การบริการเอกสารหลักฐานต่าง ๆ  
งานบริการของฝ่ายทะเบียนที่เกี่ยวกับนักศึกษาและผู้ปกครองโดยสังเขป มีดังนี้
- จัดทำใบรับรองการเป็นนักศึกษา
- จัดทำใบรับรองความประพฤตินักศึกษา
- จัดทำใบรับรองเวลาเรียนของนักศึกษา
- จัดทำใบรับรองรออนุมัติผลการเรียน (ในกรณีที่นักศึกษาสำเร็จการศึกษา)
- จัดทำใบรับรองการสำเร็จการศึกษาของนักเรียนชั้นปีสุดท้าย
- จัดทำใบระเบียนแสดงผลการเรียนเมื่อจบการศึกษาหรือเมื่อลาออกไปศึกษาต่อที่อื่น
(ภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ)

ขั้นตอนการดำเนินการทำใบรับรอง
- ยื่นคำร้องขอทำเอกสารดังกล่าวที่ห้องทะเบียน
- ชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดของเอกสารแต่ละชนิด
- รูปถ่ายขาวดำขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป เพื่อจัดทำเอกสารดังกล่าว

ประโยชน์ในการนำเอกสารดังกล่าวไปใช้
- เพื่อเบิกค่าธรรมเนียมการศึกษาพร้อมค่าใช้จ่ายของบุตรข้าราชการทหารผ่านศึก
- เพื่อขอทุนในหน่วยราชการของผู้ปกครอง
- เพื่อนำไปสมัครงาน
- เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาต่อ

ระยะเวลาในการจัดทำเอกสาร
      นักศึกษามารับเอกสารได้หลังจากยื่นคำร้องแล้ว 3-7 วัน แล้วแต่กรณี
กรณีที่ผู้ปกครองต้องมาพร้อมกับนักศึกษา มิฉะนั้นทางฝ่ายทะเบียนไม่สามารถที่จะดำเนินการให้ได้ ได้แก่ กรณีดังต่อไปนี้
1. การลงทะเบียนขอผ่อนผันค่าธรรมเนียมการศึกษาซึ่งทางโรงเรียนจะมีกำหนดการแจ้งให้ผู้ปกครองทราบล่วงหน้า
2. การลาพักการเรียนนักศึกษา ในกรณีนี้นักศึกษามาติดต่อขอลาพักการเรียนด้วยหลายสาเหตุ เช่น ป่วยนานเกินควร ประสบอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นต้องหยุดการเรียนไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ผู้ปกครองต้องมาดำเนินการให้ด้วยตนเอง
3. การลาออกจากการเป็นนักศึกษาของโรงเรียน เพื่อไปศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพ โดยไม่จบหลักสูตรในระดับชั้น นั้น ๆ จะต้องมีผู้ปกครองมาดำเนินการพร้อมกับนักศึกษา เพื่อดำเนินเรื่องให้เรียบร้อย


ระเบียบการติดต่อฝ่ายทะเบียน
- แต่งกายให้ถูกกฎระเบียบของโรงเรียน พร้อมติดบัตรนักศึกษา
- ทราบเรื่องและขั้นตอนในเรื่องของตนที่จะมาติดต่อ
- เวลาในการติดต่อ ช่วงเช้าก่อนเข้าแถว/พัก 10 นาที และพักรับประทานอาหารของแต่ละ
  ระดับชั้นและหลังเลิกเรียน

การทำบัตรประจำตัวนักศึกษา
กรณีบัตรหาย
- ยื่นคำร้อง พร้อมใบแจ้งความจากฝ่ายปกครองและรูปสีขนาด 1 นิ้ว 1 รูป
- ชำระเงินค่าธรรมเนียมที่ห้องการเงิน
- ทำบัตรชั่วคราวนักศึกษา โดยบัตรมีอายุ 7 วัน
- เมื่อบัตรชั่วคราวหมดอายุให้ติดต่อรับบัตรประจำตัวนักศึกษาที่ขอไว้พร้อมยื่นบัตรชั่ว-
  คราวด้วย

การขอใบระเบียนแสดงผลการเรียน (ใบ ร.บ.)
(ในกรณีขอทำใหม่ที่ฉบับเดิมสูญหาย)
- ยื่นคำร้อง พร้อมรูปถ่ายสีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
- ชำระเงินค่าธรรมเนียมในการทำใบ ร.บ.ที่ห้องการเงิน
- นำเอกสารขอทำใบ ร.บ. กลับฝ่ายทะเบียน
- ระยะเวลาในการดำเนินการ 7 วัน
*หมายเหตุ - ฉบับเดิมสูญหายให้แจ้งความที่สถานีตำรวจ
- ฉบับเดิมที่ชำรุดให้นำมาแสดงด้วย

การขอรับใบทะเบียนแสดงผลการเรียน (ใบ ร.บ. ) ของ นศ. ที่จบการศึกษาตามหลักสูตร
- แต่งกายให้ถูกกฎระเบียบของโรงเรียน
- นำบัตรนักศึกษามารับตามวันที่กำหนด ในกรณีที่ไม่สามารถมาได้ด้วยตนเอง
- เขียนจดหมายมอบฉันทะโดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวนักศึกษาพร้อมบัตรประจำตัว-
  นักศึกษาและสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบฉันทะ เพื่อขอรับใบ ร.บ. แทน
   

การลงทะเบียน
การลงทะเบียนด้วยตนเองที่โรงเรียน
- นักศึกษาลงทะเบียนที่โรงเรียน ตามกำหนดวันที่ประกาศให้ทราบ
- นักศึกษาทุกคนจะได้รับการตรวจสอบเครื่องแต่งกายจากอาจารย์ฝ่ายปกครองก่อนรับบัตร
  ลงทะเบียน (ถ้าแต่งกายไม่เรียบร้อยต้องแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน)
- นักศึกษาต้องนำบัตรประจำตัวนักศึกษามาแสดง ถ้าไม่มีบัตรนักศึกษาให้นักศึกษาปฏิบัติ
  ตามระเบียบในการขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษาชั่วคราว
- นักศึกษารับบัตรลงทะเบียนแล้วนำไปกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนถูกต้องพร้อมกับให้
  อาจารย์ตรวจสอบ
- นักศึกษานำบัตรลงทะเบียนตรวจสอบหลักฐานค่าธรรมเนียมการศึกษาจากอาจารย์ผู้มี
  หน้าที่ตรวจสอบในห้องตรวจเอกสาร
- นักศึกษานำบัตรลงทะเบียนพบเจ้าหน้าที่การเงิน พร้อมกับแสดงบัตรตรวจสอบเอกสาร
  หลักฐานถูกต้อง เพื่อชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาเจ้าหน้าที่การเงินประทับตราโรงเรียน
   ลงบนบัตรลงทะเบียน เพื่อเป็นหลักฐานการลงทะเบียนที่ถูกต้อง
- นักศึกษาที่มีปัญหาค่าธรรมเนียมการศึกษาให้พบอาจารย์ฝ่ายการเงินเพื่อดำเนินการแก้ไข
  ปัญหาก่อนเข้ารับการลงทะเบียน
- นักศึกษาที่ขอยืมใบเสร็จ ให้กรอกเอกสารขอยืมใบเสร็จ และติดต่อเจ้าหน้าที่การเงินเพื่อ
  ออกใบเสร็จรับเงินแล้วทำสัญญาขอยืมใบเสร็จ
- นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ให้นำบัตรลงทะเบียนคืนให้กับอาจารย์ฝ่ายทะเบียน
  แล้วนำเอกสารการลงทะเบียนส่วนล่างมาแสดงต่ออาจารย์ผู้สอนในคาบแรกของแต่ละ
  รายวิชา